แพทย์แผนจีน และ สมดุลของร่างกาย

แพทย์แผนจีน และ สมดุลของร่างกายและสมุนไพรจีนที่จะช่วยปรับให้ร่างกายสมดุล

ก่อนจะทำความรู้จักกับสมุนไพรจีนที่ออกฤทธิ์ในแบบต่างๆ เราควรจะทำความรู้จักกับสมดุลในร่างกายของเราในแบบ แพทย์แผนจีน นั้นก็คือ หยินและหยาง โดยในร่างกายคนเราจะประกอบด้วยธาตุหยินหยางอยู่ เป็นสมดุลร้อนเย็นของร่างกาย โดยอาการเจ็บป่วยมักจะเกิดจากการที่สมดุลของหยินและหยางไม่สมดุล ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆได้โดยจะมีซินแสหรือคุณหมอเป็นผู้วินิจฉัย แต่วันนี้มาลองสังเกตุดูกันว่าลักษณะต่างๆของหยินและหยางภายในร่างกายของคนเราเป็นอย่างไร

สมดุลของร่างกาย

คนที่หยางแข็งแรง จะเป็นคนขี้ร้อน คล่องแคล่ว ตื้นเต้นง่าย ชืพจรเต้นเร็ว ลิ้นมีสีแดง

คนที่หยินแข็งแรง จะเป็นคนขี้หนาว สงบนิ่ง มีนิสัยเรียบๆ อาจจะมีอาการอ่อนเพลียได้ง่าย

คนที่หยางอ่อนแอ หน้าตาจะซีดเซียว ไม่ค่อยมีเลือด

คนที่หยินอ่อนแอ รูปร่างจะผอมบาง อาจะรวมถึงหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย

หลังจากพอทราบลักษณะของสมดุลในร่างกายบ้างแล้ว เราจะมาทำความรู้จักกับสมุนไพรจีนที่ให้ฤทธิ์ในแบบต่างๆ ทั้งร้อน เย็นและเป็นกลาง ซึ่งนำมาใช้ปรับสมดุลหยินหยางของร่างกายเพื่อบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยได้

สมุนไพรจีนที่ออกฤทธิ์แบบต่างๆ

โดยสมุนไพรจีนจะแบ่งเป็น3หมวดใหญ่ๆ ได้แก่ สมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน สมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นและสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นกลาง โดยการใช้สมุนไพรจีนเพื่อรักษาบำบัดโรคนั้นสามารถนำมาใช้เพียงอย่างเดียวได้ เช่น การชงเป็นชา หรือนำสมุนไพรจีนหลายๆตัวมาต้มรวมเป็นยา เพื่อรักษารวมถึงปรับสมดุลให้กับร่างกายทำงานได้ดีขึ้น สมุนไพรจีนจึงมีสรรพคุณทั้งการบำบัดและบำรุงในขณะเดียวกัน

หลายๆคนคงอาจจะไม่ทราบว่าจริงๆแล้วสมุนไพรจีนนั้นเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเราเกือบตลอดเวลา เพราะสมุนไพรจีนนั้นเป็นส่วนประกอบของอาหารทั้งคาวและหวานรวมถึงเครื่องดื่มด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขาหมูหรือพะโล้ซึ่งมีสมุนไพรจีนผสมไว้ถึง5ชนิด หรือเครื่องดื่มเช่น น้ำเก๊กฮวย น้ำจับเลี้ยง น้ำหล่อฮั่งก๊วย เป็นต้น ซึ่งการใช้สมุนไพรจีนปรุงร่วมกับอาหารหรือเครื่องดื่มจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะรสชาติของอาหารจะทำให้กินสมุนไพรเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น ลองมาทำความรู้จักสมุนไพรจีนที่ออกฤทธิ์แบบต่างๆ ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลของร่างกายกัน

สมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์ร้อน จัดเป็นพวกหยางซึ่งใช้บำบัดอาการที่เกิดจากการมีหยินมากเกินไป เช่น มีอาการเย็นตามมือและเท้า ร่างกายอ่อนเพลีย ขี้หนาวควรใช้สมุนไพรในกลุ่มนี้เพื่อบำบัดอาการ ตัวอย่างสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น กานพลู เกาลัด ขิงพริกไทย ฟักทอง ลำไย เป็นต้น

ขิง กานพลู พริกไทยเกาลัด

 

สมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น จัดเป็นพวกหยิน ใช้บำบัดอาการ การมีหยางมากเกินไป เช่น ชีพจรเต้นเร็ว ตื่นเต้นง่าย ขี้ร้อน ควรใช้สมุนไพรในกลุ่มนี้ปรับร่างกายให้สมดุล ตัวอย่างสมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์เย็น เช่น เก๊กฮวย ถั่วเขียว ทับทิม ผักโขม ผักกาดขาว ลูกเดือย สาลี่ เป็นต้น

ผักกาดขาว ปวยเล้ง ทับทิมถั่วเขียว

สมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์กลาง จัดเป็นพวกหยิน เช่นเดียวกับสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นๆ ใช้บำบัดอาการที่เกิดจากการมีหยางมากเกินไปโดยจะช่วยปรับร่างกายให้สมดุลยิ่งขึ้น ผู้ที่เจ็บคอบ่อยๆ ท้องผูก คอแห้ง ควรใช้สมุนไพรในกลุ่มนี้ปรับสมดุลร่างกาย ตัวอย่างสมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์เป็นกลาง เช่น เก๋ากี้ งา ถั่วแดง ถั่วลิสง แปะก๊วย เผือก เห็ดหอม เห็ดหูหนู เป็นต้น

เห็ดหอม มันเทศ ถั่วแดงเก๋ากี้

 

จากตัวอย่างสมุนไพรจีนที่ออกฤทธิ์แบบต่างๆ จะเห็นได้ว่าเป็นพืชผัก ธัญพืช ที่เราสามารถหาได้ในชีวิตประจำวันทำให้เราสามารถทานอาหารให้เป็นยาเพื่อปรับสมดุลของร่างกายได้ โดยเราสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและปรับอาหาร เครื่องดื่ม เพื่อช่วยป้องกันอาการไม่สบายต่างๆ ได้ด้วย

เกร็ดความรู้เรื่องสมุนไพรจีน

10 สมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์ร้อน
10 สมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์เย็น
10 สมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์เป็นกลาง

 

 

 

 

 

แชทสอบถามเพิ่มเติม