การจัดงานศพ นั้นจะแตกต่างกันและถูกจัดตามประเพณีตามแต่ละท้องถิ่น การนับถือศาสนาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น พุทธ คริสต์ อิสลาม หรือแม้กระทั่งการจัดงานศพ ตามประเพณีจีนที่มีโอกาสได้เห็นบ่อยๆในเมืองไทย ล้วนแต่มีความแตกต่างในการ จัดงานศพ แต่ไม่ว่าจะเป็นงานศพในรูปแบบไหน ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกันนั้นคือ เพื่อเป็นการให้เกียรติและระลึกถึงผู้ที่จากไป โดยขั้นตอนที่จะกล่าวถึงเป็นเพียงขั้นตอนหลักๆในการประกอบพิธีศพในแบบชาวไทยพุทธเพราะเป็นศาสนาที่คนไทยนับถือเป็นส่วนมากและเป็นพิธีศพที่ใกล้ตัวกับคนไทย และค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการจัดงานศพ
การ จัดงานศพ ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อต้องจัดงานศพ หลังจากมีผู้เสียชีวิตนั้นจะต้องมีขั้นตอนปฏิบัติที่ควรทราบดังต่อไปนี้
1. การแจ้งตาย จะต้องทำการแจ้งการตายต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือโรงพยาบาลเพื่อทำการรับรองและ ขอรับใบมรณะบัตร และเมื่อได้รับใบมรณะบัตรแล้ว ต้องนำไปแจ้งยังสำนักทะเบียนพร้อมทะเบียนบ้านอีกด้วยโดยสามารถทำได้ภายใน15วัน
2. การนำศพไปวัด ทำการติดต่อวัดเพื่อที่จะนำศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล โดยอาจจะนิมนต์พระสงฆ์ เพื่อทำการเคลื่อนศพไปที่วัด หรือไม่ก็ได้ ก่อนทำการนำศพไปที่วัดนั้นควรจะจัดเตรียมเสื้อผ้า ผ้าคลุมศพและรูปภาพเพื่อนำไปต้องหน้าศพให้พร้อม
3. การรดน้ำศพ ต้องมีการตั้งเตียงรดน้ำศพโดยนิยมตั้งให้ศพหันด้านขวาเพื่อให้ผู้มาเคารพศพ รดน้ำที่มือขวา โดยต้องนำผ้าคลุมศพมาคลุมทั้งร่างโดยเปิดเพียงหน้าและมือขวาไว้เท่านั้น
4. การจัดศพลงโลง จะทำเมื่อเสร็จจากพิธีรดน้ำศพแล้ว โดยจะมอบให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่วัด เป็นผู้ทำพิธีกรรมต่างๆ ตามแต่ที่นิยมตามท้องถิ่น และจะทำการตั้งบำเพ็ญกุศลต่อไป
5. การสวดอภิธรรม โดนนิยมสวด 3,5,7 คืน แล้วแต่ทางเจ้าภาพสะดวกโดยจะนิมนต์พระมาสวดอภิธรรมโดยส่วนมากจะนิยมเริ่มต้นที่เวลา19.00น ต้องมีการเตรียมเครื่องไทยธรรมและปัจจัยเตรียมถวายแด่พระสงฆ์ และตามประเพณีนั้นเจ้าภาพจะต้องจัดเตรียมอาหารว่างและของชำร่วยสำหรับแขกที่มาฟังสวดอภิธรรม
ในบ้างกรณีก่อนทำการฌาปนกิจศพนั้น ทางเจ้าภาพสามารถบรรจุเก็บศพไว้เพื่อจัดงานทำบุญบำเพ็ญกุศลได้ โดยอาจจะทำการเก็บไว้ตามจำนวนวันเช่น 7,50 หรือ 100 วัน โดยจะทำการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระพุทธมนต์และฉันเพล เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้จากไป
6. การฌาปนกิจศพ หรือ การเผาศพ เจ้าภาพจะต้องทำการกำหนดวันและจะมีการบำเพ็ญกุศลก่อนทำการฌาปนกิจ โดยจะมีพิธีต่างๆ เช่น
– การบวชหน้าไฟโดยลูกหลาน
– นิมนต์พระสงฆ์สวดบังสกุลและมีการถวายเครื่องไทยธรรม รวมถึงพิธีการกรวดน้ำ
– มีการเคลื่อนศพไปยังเมรุหลังจากการบำเพ็ญกุศลเสร็จแล้ว โดยจะมีการแห่ศพรอบเมรุเวียนเป็นจำนวน 3 รอบ โดยเวียนจากขวาไปซ้ายของเมรุ(เมรุอยู่ด้านซ้าย) เมื่อครบ3รอบจะทำการนำศพขึ้นตั้งบนเมรุ
– มีการทอดผ้าบังสกุล โดยต้องเตรียมผ้าไตรไว้สำหรับแขกผู้ใหญ่และประธานจะขึ้นทอดผ้าเป็นลำดับสุดท้าย
– มีการเตรียมดอกไม้จันทน์ให้แก่แขกผู้มาร่วมงาน เพื่อเตรียมวางก่อนการเผาศพ
– หลังจากเสร็จพิธีการฌาปนกิจศพ มีการเตรียมของชำร่วยงานศพ ให้แก่แขก
7. การเก็บอัฐิ นิยมปฏิบัติกัน 2 แบบคือ เก็บอัฐิภายในวันเผาเพื่อรวบงานให้เสร็จภายในวันนั้น หรือ เก็บอัฐิในวันถัดไปเพื่อทำบุญอัฐิในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น โดยต้องมีการจัดเตรียมโกศสำหรับบรรจุอัฐิ และนำอัฐิบางส่วนไปทำการลอยอังคาร
8. การลอยอังคาร เป็นการนำอัฐิไปลอยในแม่น้ำหรือทะเล เป็นความเชื่อว่าให้ร่างกายนั้นได้กลับคืนสู่ธรรมชาติ และให้ผู้ที่จากนั้นจากไปอย่างสงบ
นี้เป็นเพียงขั้นตอนหลักๆจากพิธีศพของชาวไทยซึ่งส่วนใหญ่ปฎิบัติกันในรูปแบบนี้ และจากขั้นตอนต่างๆนั้น อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีกตามแต่ประเพณีท้องถิ่นและความเชื่อของเจ้าภาพซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันไปอีก
ค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพในลำดับขั้นตอนต่างๆ
ในทุกๆลำดับขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีค่าใช้จ่ายในแต่ละขึ้นตอนอีกด้วย ลองมาดูคร่าวๆกันว่า ค่าใช้จ่ายนั้นมีอะไรบ้างและราคาประมาณเท่าไหร่
- ในส่วนของการแจ้งตายนั้นจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 200 บาท เพื่อดำเนินการและขอรับเอกสาร ใบมรณะบัตร
- การจัดศพลงโลงนั้นจะมีในส่วนของค่าโลงศพซึ่งมีหลากหลายราคาตั้งแต่หลักพันต้นๆจนถึงหลักแสนเลยทีเดียว ประมาณ 2,000-5,000 บาท
- การรดน้ำศพและสวนอภิธรรมในส่วนนี้จะต้องติดต่อวัดเพื่อทำการประกอบพิธีซึ่งแต่ละวัดนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากันโดยจะคิดราคาต่อคืน โดยเริ่มต้นที่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ประมาณ 3,000-10,000 บาทต่อคืน
- ทำบุญเลี้ยงพระในงานฌาปนกิจอันนี้จะขึ้นอยู่กับทางวัดว่าจะมีค่าใช้จ่ายหรือใหม่ โดยอาจจะให้ช่วยทำบุญในรูปแบบของค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละวัดว่าจะเก็บเท่าไหร่ ประมาณ 2000 บาท
- อาหารและของชำร่วยสำหรับแขกที่มาในงาน ส่วนค่าใช้จ่ายตรงนี้นั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนแขกเป็นหลัก และการเลือกของชำร่วยและอาหารที่จะนำมาเสริฟแขกโดยขึ้นอยู่กับงบประมาณของเจ้าภาพ ค่าใช้จ่ายต่อหัวประมาณ 100-200บาท
- พิธีฌาปนกิจ จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของการเผาศพและสัปเหร่อ โดยจะมีของที่ใช้ในพิธีอย่างผ้าบังสกุล ดอกไม้จันทน์ อีกด้วย ประมาณ 5,000 บาท
- พิธีเก็บอัฐิและลอยอังคาร จะมีค่าใช้จ่ายอีกในส่วนนี้ โดยจะมีพิธีต่างๆอีกเล็กน้อย ค่าใช้จ่ายประมาณที่ 5,000 บาท
จากรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะเห็นได้ว่าในทุกๆขั้นตอนนั้นมีค่าใช้จ่ายเกือบทั้งหมดและเพื่อต้องการให้การจัดงานศพนั้นออกมาอย่างสมบูรณ์อาจจะต้องมีการจัดเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ให้พร้อมสำหรับงานสุดท้ายของชีวิตเพื่อให้ไม่เป็นภาระกับคนที่ยังมีชีวิตอยู่มากเกินไป
งานศพนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะทุกคนจะต้องจากไปไม่ว่าวันใด้ก็วันนึง แต่ถ้าทุกคนมีการเตรียมตัวให้พร้อมทั้งกายและใจนั้น การจัดงานศพ ก็จะเป็นอีกช่วงเวลานึงของชีวิตที่จะทำให้คนที่ยังอยู่ได้ระลึกถึงผู้ที่จากไปอย่างมีความสุขและทำให้เป็นช่วงเวลาที่ดีและไม่เศร้าจนเกินไปได้อย่างแน่นอน
สำหรับลูกค้าที่สนใจจัดทำของชำร่วยงานศพ ของที่ระลึกงานฌาปนกิจ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ https://www.earsair.com/ของชำร่วยงานศพ-ทั้งหมด/
ขอบคุณภาพจาก
reedthai.com
aladinplaza.com
kalyanamitra.org